บ้านเป็นเป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่ต้องวางแผนก่อนจะเป็นเจ้าของ ตั้งแต่เรื่องทำเลที่ตั้งไปจนถึงการใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อและปรับปรุงแต่งเติม โดยเฉพาะการขอ สินเชื่อบ้าน ซึ่งต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวเพื่อให้ได้รับการอนุมัติจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่หมายตาเอาไว้ บริการสินเชื่อบ้านของแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขและข้อเสนอที่ต่างกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษารายละเอียดพร้อมเปรียบเทียบเพื่อความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด
1. เลือกธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด
ศึกษาข้อมูล สินเชื่อกู้สร้างบ้าน จากหลาย ๆ ธนาคารมาเพื่อเทียบว่าว่าธนาคารไหนให้อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด หากวางแผนผ่อนระยะยาวต้องดูอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยแล้วเลือกที่น้อยที่สุด หากตั้งใจจะผ่อนระยะสั้นวางแผนปิดหนี้ก่อนครบสัญญาให้พิจารณาจากดอกเบี้ยช่วงปีแรกเป็นสำคัญโดยเลือกธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยช่วงปีแรกน้อยสุดเพื่อจะได้ผ่อนน้อยที่สุด ทั้งนี้สำหรับดอกเบี้ยในแต่ละช่วงเวลาของการกู้แต่ละธนาคารจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เท่ากัน บ้างคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำในช่วงแรกเพื่อดึงดูดลูกค้าแล้วค่อยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง บ้างมีอัตราดอกเบี้ยสูงในช่วงแรกแต่ก็ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนักในช่วงท้าย ดังนั้นจึงควรนำอัตราดอกเบี้ยมาเฉลี่ยให้เป็นอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุของสินเชื่อแล้วปรับให้เป็นอัตราดอกเบี้ยต่อปีซึ่งจะช่วยให้เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยได้ง่ายขึ้น
2. โปะเพิ่มเพื่อลดเงินต้น
เมื่อ กู้เงินซื้อบ้าน แล้วผ่านการอนุมัติเรียบร้อย ธนาคารจะคำนวณค่างวดรายเดือนมาให้ผู้กู้ได้ผ่อนชำระ เพื่อความคุ้มค่าและลดภาระจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินผ่อน หากมีรายได้เพิ่มหรือมีเงินก้อนใหญ่แนะนำให้รีบโปะเงินต้น หรือโปะเพิ่ม 10 - 50% ของค่างวดในแต่ละเดือน ซึ่งการโปะเงินเพิ่มนี้จะช่วยลดระยะเวลาในการผ่อนบ้านโดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรกที่ผ่อนบ้านกับธนาคาร เงินกู้ยังมีอัตราดอกเบี้ยต่ำหากรีบโปะ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนก็จะยิ่งลดตามไปด้วย
3. หาวิธีลดดอกเบี้ยหลังจากปีที่ 3 ของการกู้
หลังจากสามปีแรกผ่านไปแล้วส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยของเงิน กู้ซื้อบ้าน จะขยับสูงขึ้น ซึ่งเราสามารถแก้ปัญหาเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยได้ด้วย 2 วิธี นั่นคือ Refinance และ Retention จะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ ช่วยลดภาระของเรา แต่ทั้งนี้ผู้กู้ต้องมีประวัติการผ่อนชำระที่ดีด้วยเช่นกัน
• การรีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) คือ การย้ายหนี้บ้านจากธนาคารเดิมไปยังธนาคารแห่งใหม่ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่า
• การรีเทนชั่น (Retention) คือ การยื่นเรื่องขอปรับลดดอกเบี้ยหรือปรับโครงสร้างหนี้ใหม่กับธนาคารเดิม
การจะซื้อบ้านนั่นหมายความว่าพร้อมที่จะรับภาระหนี้สินระยะยาวในอนาคต การวางแผนที่ดีจะช่วยทำให้เกิดความคุ้มค่าในการกู้ซื้อบ้านมากที่สุด ธนาคารกรุงไทยพร้อมมอบความคุ้มค่าด้วยสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อซื้อบ้านใหม่ สินเชื่อสำหรับสร้างบ้าน สินเชื่อ บ้านแลกเงิน และสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาใกล้บ้านคุณ
บ้านเป็นเป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่ต้องวางแผนก่อนจะเป็นเจ้าของ ตั้งแต่เรื่องทำเลที่ตั้งไปจนถึงการใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อและปรับปรุงแต่งเติม โดยเฉพาะการขอ สินเชื่อบ้าน ซึ่งต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวเพื่อให้ได้รับการอนุมัติจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่หมายตาเอาไว้ บริการสินเชื่อบ้านของแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขและข้อเสนอที่ต่างกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษารายละเอียดพร้อมเปรียบเทียบเพื่อความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด
1. เลือกธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด
ศึกษาข้อมูล สินเชื่อกู้เพื่อสร้างบ้าน จากหลาย ๆ ธนาคารมาเพื่อเทียบว่าว่าธนาคารไหนให้อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด หากวางแผนผ่อนระยะยาวต้องดูอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยแล้วเลือกที่น้อยที่สุด หากตั้งใจจะผ่อนระยะสั้นวางแผนปิดหนี้ก่อนครบสัญญาให้พิจารณาจากดอกเบี้ยช่วงปีแรกเป็นสำคัญโดยเลือกธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยช่วงปีแรกน้อยสุดเพื่อจะได้ผ่อนน้อยที่สุด ทั้งนี้สำหรับดอกเบี้ยในแต่ละช่วงเวลาของการกู้แต่ละธนาคารจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เท่ากัน บ้างคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำในช่วงแรกเพื่อดึงดูดลูกค้าแล้วค่อยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง บ้างมีอัตราดอกเบี้ยสูงในช่วงแรกแต่ก็ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนักในช่วงท้าย ดังนั้นจึงควรนำอัตราดอกเบี้ยมาเฉลี่ยให้เป็นอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุของสินเชื่อแล้วปรับให้เป็นอัตราดอกเบี้ยต่อปีซึ่งจะช่วยให้เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยได้ง่ายขึ้น
2. โปะเพิ่มเพื่อลดเงินต้น
เมื่อ กู้เงินซื้อบ้าน แล้วผ่านการอนุมัติเรียบร้อย ธนาคารจะคำนวณค่างวดรายเดือนมาให้ผู้กู้ได้ผ่อนชำระ เพื่อความคุ้มค่าและลดภาระจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินผ่อน หากมีรายได้เพิ่มหรือมีเงินก้อนใหญ่แนะนำให้รีบโปะเงินต้น หรือโปะเพิ่ม 10 - 50% ของค่างวดในแต่ละเดือน ซึ่งการโปะเงินเพิ่มนี้จะช่วยลดระยะเวลาในการผ่อนบ้านโดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรกที่ผ่อนกับธนาคาร เงินกู้ยังมีอัตราดอกเบี้ยต่ำหากรีบโปะ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนก็จะยิ่งลดตามไปด้วย
3. หาวิธีลดดอกเบี้ยหลังจากปีที่ 3 ของการกู้
หลังจากสามปีแรกผ่านไปแล้วส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยของเงิน กู้ซื้อบ้าน จะขยับสูงขึ้น ซึ่งเราสามารถแก้ปัญหาเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยได้ด้วย 2 วิธี นั่นคือ Refinance และ Retention จะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ ช่วยลดภาระของเรา แต่ทั้งนี้ผู้กู้ต้องมีประวัติการผ่อนชำระที่ดีด้วยเช่นกัน
• การรีไฟแนนซ์ (Refinance) คือ การย้ายหนี้บ้านจากธนาคารเดิมไปยังธนาคารแห่งใหม่ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่า
• การรีเทนชั่น (Retention) คือ การยื่นเรื่องขอปรับลดดอกเบี้ยหรือปรับโครงสร้างหนี้ใหม่กับธนาคารเดิม
การจะซื้อบ้านนั่นหมายความว่าพร้อมที่จะรับภาระหนี้สินระยะยาวในอนาคต การวางแผนที่ดีจะช่วยทำให้เกิดความคุ้มค่าในการกู้ซื้อบ้านมากที่สุด ธนาคารกรุงไทยพร้อมมอบความคุ้มค่าด้วยสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อซื้อบ้านใหม่ สินเชื่อสำหรับสร้างบ้าน สินเชื่อ บ้านแลกเงิน และสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาใกล้บ้านคุณ