อัตราดอกเบี้ยบ้าน ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่คนอยากกู้เงินซื้อบ้าน หรือ กู้เงินทำบ้าน ควรพิจารณา เนื่องจากการ ผ่อนบ้านกับธนาคาร ใช้ระยะเวลายาวนานหลายปี หากผู้กู้เลือกผ่อนชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำเท่าไรก็สามารถประหยัดมูลค่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายได้มากเท่านั้น
ในอดีตการเปรียบเทียบ อัตราดอกเบี้ยบ้าน เป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยาก เพราะแต่ละธนาคารกำหนดเงื่อนไขการคำนวณกู้ซื้อบ้านดอกเบี้ย แตกต่างกัน เช่น ธนาคาร A คิด ดอกเบี้ยกู้บ้าน ปีแรก 1.95% ต่อปี ปีที่ 2 - 3 2.50% ต่อปี หลังจากนั้น MRR - 1.25% ต่อปี ในขณะที่ธนาคาร B คิด ดอกเบี้ยกู้บ้าน 1 - 3 ปีแรก 2.5% ต่อปี หลังจากนั้น MRR - 1.00% ต่อปี แต่ในปัจจุบันในเว็บไซต์ของแต่ละธนาคารจะมีช่องที่เรียกว่า “อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี” กำกับไว้ด้วย ซึ่งเราจะใช้ตัวเลข ดอกเบี้ยบ้าน ในช่องนี้นำมาเปรียบเทียบกับตัวเลขอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ของธนาคารอื่น ๆ ดังนั้นในลิสต์ที่เรารวบรวมมาให้ในวันนี้จึงจะใช้ตัวเลขอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีเป็นหลัก พร้อมให้ข้อมูลวงเงินกู้สูงสุดของแต่ละธนาคาร รวมถึงระยะเวลาการกู้รวมไว้ให้ด้วย
ธนาคาร
|
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี
|
วงเงินกู้สูงสุด
|
ระยะเวลากู้สูงสุด(ปี)
|
ธ.อาคารสงเคราะห์
|
1.99%
|
1,200,000 บาท
|
40
|
ธ.กรุงศรีอยุธยา
|
2.55%
|
100% ของราคาประเมิน
|
30
|
ธ.กรุงเทพ
|
2.73%
|
70-100% ของราคาประเมิน
|
35
|
ธ.กรุงไทย
|
3.00%
|
100% ของราคาประเมิน
|
40
|
ธ.ไทยพาณิชย์
|
5.95%
|
100% ของราคาประเมิน
|
30
|
ทีนี้เรามาดูข้อจำกัดของอัตราดอกเบี้ยในแต่ละรายการพร้อมกัน
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กำหนดวงเงินกู้สูงสุดสำหรับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 1.2 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้กู้ที่ต้องการวงเงินสูงกว่า 1.2 ล้านบาท
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กำหนดปล่อยกู้ให้กับบ้าน / คอนโดมูลค่า 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ ลูกค้ากรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ รวมถึงคู่เพื่อนที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกันเท่านั้น
- ธนาคารกรุงเทพ กำหนดให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยและวงเงินตามนี้ให้กับกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ แพทย์ ผู้พิพากษา อัยการ นักบิน และพนักงานประจำที่มีรายได้สูง 200,000 บาทขึ้นไปเท่านั้น
- ธนาคารกรุงไทย กำหนดเงื่อนไขที่ดูจะเข้าถึงได้ง่ายที่สุด เพียงผู้กู้ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อก็จะได้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.00% และวงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน
- ธนาคารไทยพาณิชย์ กำหนดให้ผู้กู้ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อมากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ เพื่อจะได้อัตราดอกเบี้ยตามตาราง และมีโอกาสได้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักประกัน
สำหรับผู้กู้ที่ต้องการ คำนวณสินเชื่อบ้าน ก่อนจะตัดสินใจทำ สามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชัน คำนวณสินเชื่อบ้าน ในเว็บไซต์ของแต่ละธนาคารได้เลย การคำนวณเพื่อให้ตนเองได้เห็นตัวเลขค่างวด การผ่อนบ้านกับธนาคาร ก่อนล่วงหน้าถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ในผู้กู้บางรายยังใช้วิธี “ซ้อมผ่อนบ้าน” ก่อนยื่นกู้ เพื่อประเมินสถานะการเงินของตนเองให้แน่ใจว่าจะสามารถผ่อนชำระในระดับตัวเลขประมาณนี้ได้ในระยะยาวหรือไม่ ตึงเกินไปหรือเปล่า หากพบว่าตึงเกินไปก็จะได้นำมาประกอบการตัดสินใจเลือกสินเชื่อที่ให้ค่างวดต่ำ ผ่อนล้านละ 3,000 บาท อย่างธนาคารกรุงไทย เป็นต้น