บ้านคือหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเรา เป็นพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัวสำหรับการอยู่อาศัย การพักผ่อน การสร้างความทรงจำอันดี และช่วยเติมเต็มความสุขให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัว ดังนั้นใคร ๆ ต่างก็อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ด้วยภาระค่าใช้จ่ายที่มีอยู่อาจทำให้เงินเดือนในแต่ละเดือนเหลือไม่มากพอที่จะนำมาซื้อบ้านใหม่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่าคุณไม่จำเป็นต้องมีเงินเก็บก้อนใหญ่ถึงค่อยซื้อบ้านได้ เพราะมีวิธีที่จะช่วยให้ฝันของคุณเข้าใกล้ความเป็นจริงได้ง่ายมากขึ้น นั่นก็คือการ กู้ร่วมซื้อบ้าน เป็นวิธีที่ให้คนสองคนมาร่วมสร้างบ้านในฝันไปด้วยกัน ไม่จำเป็นต้องมีรายได้สูงมากก็ผ่อนบ้านได้ ว่าแต่การกู้บ้านร่วม คืออะไร และผู้กู้ร่วมที่ว่านี้จะเป็นใครได้บ้างนั้น เรามาทำความเข้าใจกันให้ชัดก่อน เพื่อจะได้เห็นหนทางสำหรับยื่นแบงค์ขอกู้เพื่อซื้อบ้านและมีโอกาสได้รับอนุมัติมากกว่ายื่นขอเพียงคนเดียว
อะไรคือการกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้าน และใครต้องกู้เงินร่วมกับใคร
การ กู้บ้านร่วม ก็คือการทำสัญญาร่วมกันระหว่างญาติ พ่อแม่ พี่น้อง หรือคู่สมรส เพื่อยื่นกู้ซื้อทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน เป็นการทำสัญญาเพื่อรับผิดชอบชำระหนี้สินร่วมกัน เพื่อแสดงให้ทางธนาคารเห็นว่าผู้ที่ทำสัญญาร่วมกันมีความสามารถผ่อนชำระหนี้สินได้ตามที่กำหนด เป็นการเพิ่มโอกาสที่ทางธนาคารจะพิจารณาอนุมัติให้ผ่านได้ง่ายขึ้น โดยผู้ที่จะกู้ร่วมได้จะต้องมีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ไม่เป็นผู้ที่มีภาระหนี้สินอยู่ในเกณฑ์ที่มากเกินไป มีอายุในการทำงานประจำไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือกรณีประกอบธุรกิจส่วนตัวก็ไม่ควรน้อยกว่า 1 ปี และควรมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือน
ข้อดีของการ กู้ร่วมซื้อบ้าน
- มีโอกาสได้รับการพิจารณาอนุมัติจากทางธนาคารง่ายขึ้น
- มีโอกาสได้รับวงเงินสูงขึ้น ถ้าหากผู้กู้ร่วมมีสถานะทางการเงินดี
- ไม่ต้องแบกรับภาระหนี้สินเพียงคนเดียว เพราะผู้ร่วมกันกู้นั้นจะต้องผ่อนชำระหนี้สินร่วมกัน ถ้าหากบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีปัญหาด้านการเงิน ผู้ที่มีสัญญากู้ร่วมกันอีกคนก็จะต้องรับภาระผ่อนชำระหนี้สินต่อไป
ข้อควรระวังของการกู้เงินร่วมกัน
- หากเกิดกรณีผิดใจกันระหว่างที่มีสัญญากู้ร่วมกัน อาจจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดชอบหนี้สินตามมา หากไม่สามารถตกลงกันได้จนมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ถอนตัวออกจากการกู้ร่วม และหากผู้กู้ที่เหลือไม่สามารถชำระหนี้ต่อได้ ทางธนาคารก็อาจจำเป็นต้องพิจารณารีไฟแนนซ์บ้าน กรุงไทย หรือขายบ้านหลังดังกล่าวต่อไป
- ถ้าหากผู้กู้ร่วมทั้งสองเป็นญาติพี่น้องกัน ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ที่จะต้องแยกตัวออกไปสร้างครอบครัวใหม่ ถ้าหากต้องการกู้เพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ก็จะทำได้ยากขึ้นเพราะยังมีหนี้สินติดค้างชำระอยู่ ดังนั้นก่อนตัดสินใจ กู้ร่วม ต้องมั่นใจว่าในอนาคตจะไม่มีการกู้เงินเพื่อนำไปซื้อทรัพย์สินอื่น ๆ อีก
- สิทธิ์การลดหย่อนภาษีที่ได้รับจากการกู้ซื้อบ้านจะถูกหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ร่วม
- มีผลต่อการขายหรือโอนบ้านในอนาคต เพราะจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายด้วย หากอีกฝ่ายไม่ยินยอม การขายหรือการโอนบ้านหลังดังกล่าวก็จะไม่สามารถทำได้
ต้องการกู้เงินร่วมกันเพื่อซื้อบ้าน ต้องยื่นเอกสารขอกู้อะไรบ้าง
สำหรับผู้ที่ตัดสินใจแล้วว่าต้องการจะยื่นขอ กู้บ้านร่วม โดยทั่วไปจะใช้เอกสารประกอบการขอกู้เหมือนกับการขอสินเชื่อโดยทั่วไป เช่น บัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, เอกสารเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี), ทะเบียนสมรส, เอกสารทางการเงิน อาทิ สลิปเงินเดือน หรือสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร และรายการเดินบัญชี (Statement) ย้อนหลัง 6 เดือน, สำเนาสัญญาซื้อขาย ส่วนในกรณีที่ผู้กู้กำลังประกอบธุรกิจอยู่ ก็มีเอกสารที่ต้องใช้คือ สำเนาทะเบียนการค้า หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่น ๆ และบัญชีเงินฝาก พร้อมรายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6-12 เดือน และทั้งนี้ทั้งนั้นเอกสารที่ต้องใช้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรติดต่อสอบถามรายละเอียดกับทางธนาคารที่จะยื่นขอกู้อีกครั้งเพื่อเตรียมเอกสารที่จำเป็นได้อย่างถูกต้อง