เมื่อเราไปทำงานที่ต่างประเทศจะหลีกเลี่ยงการใช้บริการโอนเงินข้ามประเทศไปไม่ได้เลย หลายคนอาจจะเคยใช้บริการผ่านระบบต่าง ๆ เช่น Remitly Moneygram Paypal โอนเงินผ่านสาขาของธนาคารในอเมริกา รวมทั้งการ โอนเงิน Western Union และ Transferwise ซึ่งส่วนใหญ่แล้วความคุ้มค่าคือตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าอัตราแลกเปลี่ยน ค่าธรรมเนียมการโอน และระยะเวลาที่ปลายทางได้รับเงิน
Transferwise หรือ Wise หนึ่งในแพลตฟอร์มการโอนเงินระหว่างประเทศที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสมัครใช้บริการง่าย จ่ายค่าธรรมเนียมในการแปลงสกุลเงินน้อย ทั้งยังใช้ระยะเวลารวดเร็วในการโอนเงินจากต่างประเทศมาไทย
Western Union เป็นผู้ให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศชาติสัญชาติอเมริกันที่มีชื่อเสียงมายาวนาน สามารถโอนเงินข้ามประเทศจากอเมริกากลับไทยผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือจุดให้บริการ Western Union ของธนาคารต่าง ๆ กว่า 400,000 แห่งทั่วโลก โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีธนาคาร
สำหรับใครที่สนใจอยากรู้ว่าต้องทำอย่างไร หรือบริการทั้ง 2 ต่างกันอย่างไรบ้างมาดูกัน
อัตราแลกเปลี่ยนและค่าธรรมเนียมการโอนจากอเมริกามาไทย
Transferwise ใช้ Rate เดียวกับอัตราแลกเปลี่ยนสากลโดยคิดค่าธรรมเนียมการโอนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1% ซึ่งเป็น Rate คงที่ไม่ว่าโอนเงินมากหรือน้อย ส่วนค่าธรรมเนียมจะขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลาที่ทำธุรกรรมด้วย ซึ่งระบบจะหักค่าธรรมเนียมจากยอดโอน ในขณะที่ Western union จะเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากยอดโอน โดยผู้โอนสามารถเลือกค่าธรรมเนียมได้ 3 แบบ คือ เชื่อมกับธนาคารตรง แบบนี้จะไม่มีค่าธรรมเนียม ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 0 - 6 วันทำการ, ชำระผ่านบัตรเดบิตมีค่าธรรมเนียม $2.99 ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 - 2 วันทำการ และชำระผ่านบัตรเครดิตจะเสียค่าธรรมเนียม $129.99 ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 - 2 วันทำการ ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงการโอนเงิน USD เข้าระบบ Western Union เท่านั้น ทั้งนี้ Western Union มีอัตราแลกเปลี่ยนใกล้เคียงกับอัตราแลกเปลี่ยนสากล และจำนวนเงินที่โอนจะส่งผลต่อ Rate หรือกล่าวได้ว่าหากโอนเยอะจะได้รับ Rate แลกเปลี่ยนที่ดีกว่า
Transferwise และ Western Union มีขั้นตอนดำเนินการคล้ายกันในเบื้องต้น นั่นคือจะมีการโอนเงินจากบัญชีต้นทางเข้าสู่ระบบจากนั้นระบบจะแปลงค่าเงินตาม Rate ปัจจุบัน หักค่าธรรมเนียม และโอนเงินบาทให้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เมื่อระบบคำนวณทุกอย่างและแจ้งให้ทราบทางหน้าแพลตฟอร์มแล้วผู้โอนต้องยืนยันการโอน หากจำนวนเงินโอนไม่มาก Transferwise สามารถโอนได้เลย แต่ถ้าจำนวนเงินสูงจำเป็นต้องยืนยันตัวตนอีกครั้ง สำหรับ Western Union รอยืนยันการโอน 30 นาที ทุกกรณี ระหว่างที่รอการยืนยันหรือเงินยังไม่เข้าระบบสามารถยกเลิกการโอนได้ทั้ง 2 แพลตฟอร์ม
เมื่อโอนผ่าน Transferwise และ westernunionรับเงินภายในกี่วัน
โดยปกติแล้วการโอนเงินจะใช้เวลา ส่วนใหญ่ประมาณ 1 - 2 วัน สำหรับ Western Union จะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 2 วัน ทั้งนี้ระเบียบการโอนเงินของฝั่งอเมริกาจะไม่เหมือนบ้านเราจึงต้องใช้เวลาในการทำธุรกรรม รวมทั้งความแตกต่างของ Time Zone และวัน-เวลาทำการของทั้งสองประเทศ
โดยหากโอนเงินกลับมาไทยในจำนวนเงินค่อนข้างสูงแนะนำให้ โอนเงิน Western Union จะคุ้มค่าเพราะปลายทางได้รับเงินไทยมากกว่าเนื่องจากมีการกำหนด Rate ดังที่ได้กล่าวข้างต้น
ปัจจุบันสามารถ รับเงินwesternunionผ่านตู้atm ของโอนเงินต่างประเทศ ผ่านกรุงไทยได้ทั่วประเทศ ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ เมื่อเข้าสู่ระบบหน้าตู้ ATM แล้วกดไปที่เมนูบริการอื่น ๆ เลือก Western Union เลือกเมนูรับเงิน เลือกวัตถุประสงค์การรับเงิน ระบุจำนวนเงินที่รับโอน จากนั้นใส่รหัสรับเงิน หรือ MTCN ซึ่งผู้โอนจะแจ้งให้ผู้รับทราบ เมื่อกดยอมรับเงินจะถูกโอนเข้าบัญชีที่ผูกกับบัตร ATM นั้น ถือว่าสะดวกสบายเป็นอย่างมากในการโอนเงินก้อนไปต่างประเทศ